วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอน วันที่ 25/08/2558


  • มีพี่ๆมาจากเว็บไซด์ buffohero.com เป็นเว็บไซด์สำหรับหางาน และที่ฝึกงาน โดยเราสามารถสมัครเว็บไซด์ลงรายละเอียดข้อมูลว่าเราต้องการฝึกงานหางานที่ใด ในเว็บไซด์จะมีผู้ที่รับสมัครมาลงงานในตำแหน่งต่างๆในเว็บไซด์
  • สมัคร pinterest.com เข้าไปติดตามอาจารย์ prachid tinnacutr เลือกติดตาม pim ที่ตัวเองสนใจ
  • ให้ดูบล็อคและงาน Art Work ของมือปืน


การบ้าน

- หาข่าวเกี่ยวกับอัตลักษณ์ พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน เริ่มตั้งแต่ อาทิตย์หน้าเป็นต้นไป
- จัดการแก้ไขบล็อคเกอร์ของตัวเองให้เรียบร้อย
- MoodBorad พรีเซนต์งาน ขนาด 50 cm x 70 cm

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ลงพื้นที่สำรวจหาผลิตภัณฑ์ที่ จังหวัด สิงหบุรี

สบู่ใยไผ่วิลัยรัตน์ และแชมพูสมุนไพรว่านหางจรเข้


เจ้าของผลิตภัณฑ์ วิลัยรัตน์
คุณปาจารี วิลัยรัตน์
ที่อยู่ 90/3  ม.5  ต.ชีน้ำร้าย  อ.อินทร์บุรี  จ.สิงห์บุรี
เบอร์ติดต่อ 080-662-7249
ID Line : pajaree_779








บันทึกการลงพื้นที่หาข้อมูล วันที่ 13 สิงหาคม 2558

       ลงพื้นที่หาข้อมูล ผลิตภัณฑ์ "สมุนไพร" ประจำจังหวัด สิงห์บุรี
ตัวแทนกลุ่ม ได้เดินทางไปสำรวจหาผลิตภัณฑ์ ที่งาน "ศิลปาชีพประทีปไทยโอทอปก้าวไกลด้วยพระบารมี ครั้งที่ ๔" ณ อาคารชาเรนเจอร์ฮอล์ อิมแพ็คอารีน่าเมืองทองธานี และได้ไปที่บูทของจังหวัดสิงห์บุรี พร้อมหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของแต่ละชุมชนที่เป็นตัวแทนมาแสดงงาน













ที่มา : ผู้ถ่ายภาพ ณัฐณิชา ภูเขียวธนโชติ
13/8/2558

สรุปการบ้าน ครั้งที่ 1 วันที่ 11 สิงหาคม 2558


Comporate Identity Design

เป็นส่วนหนึ่งของ งานกราฟฟิกดีไชน์



**การบ้าน

             สำรวจเก็บข้อมูล ผลิตภัณฑ์และสินค้าจากผู้ประกอบการณ์ที่เป็นงาน otop หัวข้อสมุนไพร (ที่ไม่ใช่อาหาร) มาคนละ 1 ผลิตภัณ์ (หรือมากกว่านั้นก็ได้) ต่อ 1 Brand ภายใต้หัวข้อในจังหวัดดังต่อไปนี้ จังหวัดอ่างทอง จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดชัยนาท พร้อมขอรายละเอียดสินค้าถ่ายรูปกับผู้ประกอบการณ์ **ภายใน วันที่ 16 สิงหาคม 2558

ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการณ์หรือเจ้าของแบรนด์
- สมุนไพร
- สุขภาพ
- ความงาม
- เครื่องดืม

- แบ่งกลุ่มกระจายออกตามจังหวัด เพื่อหาผู้ประกอบการณ์ตามชุมชน หมู่บ้าน ในตำบลต่างๆ
- เสาะหาประเภทของสินค้าที่ทำจากสมุนไพร ว่ามีทั้งหมดกี่ประเภท
- นำสินค้ามาวิเคราะห์หาจุดด้อยของสินค้า
- ดูชื่อของแบรนด์การใช้ชื่อใช้แบบตัวอักษร ภาษาที่ใช้
- หาความหมายของการจดทะเบียนสินค้าทางการค้า > สมุนไพร >สินค้าทั่วไป

ความหมายของการออกแบบอัตลักษณ์ Brand เครื่องหมายและสัญลักษณ์"หมายถึงอะไร"

ออกแบบอัตลักษณ์



            Corporate Identity Design (หรือ CI Design) คือ การออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์สินค้า ที่ไม่ได้หมายถึงการสร้างแบรนด์หนึ่งๆ โดยตรง แต่เป็นหน้าต่างสำคัญที่จะกำหนดหน้าตาและทิศทางของแบรนด์นั้นๆ ได้ การออกแบบอัตลักษณ์นี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันไม่ใช่แค่การออกแบบ โลโก้ แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดของแบรนด์ CI Design คือ การออกแบบ ภาพลักษณ์ทั้งหมดของแบรนด์” ที่จะทำให้คนภายนอกสัมผัสได้เฉกเช่นเดียวกับที่องค์กรต้องการสื่อออกไป เรียกว่า ถ้าพลาดก็อาจทำให้ภาพของแบรนด์บิดเบี้ยวไปเลยก็ได้ คำว่า อัตลักษณ์ ไม่มีบันทึกไว้ในพจนานุกรม แต่มีตำราหลายเล่มให้ความหมายคำว่า อัตลักษณ์ ไว้ว่า คุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของตัวบุคล สังคม ชุมชน หรือประเทศนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่น และศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่ทั่วไปหรือสากลกับสังคม อื่นๆ กล่าวคือ ลักษณะที่ไม่เหมือนกับของคนอื่นๆ อัตลักษณ์ มาจากภาษาบาลีว่า อตฺต + ลักษณ โดยที่ อัตตะ มีความหมายว่า ตัวตน, ของตน ส่วน ลักษณะ หมายถึง สมบัติเฉพาะตัว หากมองเพียงแค่รูปศัพท์ อัตลักษณ์ จึงเหมาะจะนำมาใช้หมายถึงลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่า ส่วนคำว่า เอกลักษณ์ มีคำว่า เอก ซึ่งหมายถึง หนึ่งเดียว จึงน่าจะหมายความว่าลักษณะหนึ่งเดียว (ของหลายๆ สิ่ง) หรือลักษณะที่ของหลายๆ สิ่งมีร่วมกัน ซึ่งเป็นความหมายแรกตามพจนานุกรมอย่างไรก็ดี คนไทยโดยส่วนใหญ่ยังนิยมใช้คำว่า เอกลักษณ์ ในความหมายว่าลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครอย่างกว้างขวาง ส่วนคำว่า อัตลักษณ์ นั้นมักจะใช้ในวงแคบๆ เช่นแวดวงวิชาการเท่านั้น และบางครั้งก็ใช้แบบมีนัยยะแฝง เช่น เอกลักษณ์ เป็นสิ่งตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วน อัตลักษณ์ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีข้อบัญญัติการใช้ที่ชัดเจน








          สรุป : การออกแบบอัตลักษณ์ คือ การออกแบบ การคิดสร้างสรรค์ การคิด การออกแบบงานอย่างมีคอนเซ็ป เพื่อสร้างสรรค์งานให้มีรูปลักษณ์ ที่เด่น และไปในแนวทางเดียวกัน ทำให้มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เช่น รูป สัญลักษณ์ โลโก้ ลายน้ำ และผลงาน ที่สามารถแสดงถึงตัวตนขององค์กรนั้นๆ เช่น สัญลักษณ์ ของ Apple ที่เป็นรูปแอ๊ปเปิ้ลโดนกัด ซึ่งด้วยสัญลักษณ์ ที่มองแว๊บเดียวก็สามารถรู้ได้เลยว่านี่คือสัญลักษณ์ของ Apple

แบรนด์ (Brand)



           แบรนด์ (Brand) ตราสินค้า หรือ แบรนด์ หรือ ยี่ห้อ (Brand) เป็นรูปแบบของภาพพจน์และแนวความคิด ในรูปอัตลักษณ์ คำขวัญ และผลงานออกแบบ ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ทั้งยังเป็นข้อมูลเชิงมโนธรรม ที่แสดงออกทางรูปธรรมด้วยสัญลักษณ์ ที่สื่อถึงบริษัท สินค้า บริการ หรือกลุ่มผู้ขาย ที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน การสร้างตราสินค้า ให้เป็นที่จดจำของลูกค้า เกิดขึ้นได้จากการโฆษณา การบอกต่อ การออกแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ในปัจจุบัน การสร้างตราสินค้า กลายมาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรม และปรัชญาการออกแบบตราสินค้า ประกอบด้วย ชื่อตราสินค้า (Brand name) หรือ (ชื่อ) ยี่ห้อ คือส่วนที่สามารถอ่านออกเสียงได้ และ เครื่องหมายตราสินค้า (Brandmark) คือส่วนที่ไม่สามารถอ่านออกเสียงได้ แต่สามารถจดจำได้ อาทิสัญลักษณ์ รูปแบบ สีสัน ตัวอักษรประดิษฐ์ เสียง เป็นต้น หากเป็นภาพสัญลักษณ์อย่างเดียว ส่วนนี้อาจเรียกว่าเป็นตราเครื่องหมาย (Logo) ได้เช่นกัน


- ชื่อตรา (brandname) ส่วนของตราที่เป็นชื่อหรือคำพูดหรือข้อความซึ่งออกเสียงได้ เช่น ซันโย ฟิลิปส์
- เครื่องหมายตราสินค้า (brandmark) ส่วนหนึ่งของตราซึ่งสามารถจดจำได้แก่ ออกเสียงไม่ได้ ได้แก่ สัญลักษณ์ รูปแบบที่ประดิษฐ์ต่าง ๆ หรือรูปภาพตลอดจนสีสรรที่ปรากฏอยู่ในเครื่องหมายต่าง ๆ เหล่านี้
- เครื่องหมายการค้า (trademark) ส่วนหนึ่งของตราหรือตราที่ได้จดทะเบียนการ เพื่อป้องกันสิทธิตามกฎหมายแต่ผู้เดียว
- ลิขสิทธิ์ (copyright) สิทธิตามกฎหมายในสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ
- โลโก้ (logo) เป็นเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์ของกิจการหรือองค์การหนึ่ง ๆ



                      สรุป : แบรนด์ (Brand) คือ สัญลักษณ์ ภาพลักษณ์ มุมมอง เอกลักษณ์ ที่เป็นตัวแทนที่บ่งบอกถึงองค์กรนั้นๆ




วิสาหกิจชุมชน


                  วิสาหกิจชุมชน “วิสาหกิจชุมชน” อาจจะเป็นคำใหม่ที่หลาย ๆ คนยังไม่เข้าใจ และเข้าใจผิดไปว่าเป็นการช่วยเหลือของภาครัฐในด้านการสนับสนุนเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพเหมือนหลาย ๆ โครงการที่ผ่านมา ซึ่งวิสาหกิจชุมชน เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่ขนานไปกับเศรษฐกิจกระแสหลัก อันเนื่องมาจากว่าเศรษฐกิจกระแสหลักก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างรายได้ของประชาชนและก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย

วิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นจากการนำเอาแนวทางเศรษฐกิจชุมชนหรือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” นั้นสามารถใช้คำว่า “ธุรกิจชุมชน” แทนได้ อันเนื่องมาจากว่าชุมชนไม่ใช่รัฐ ดังนั้นสถาน-ประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของก็ต้องจัดว่าเป็นของภาคเอกชนเช่นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าหากใช้คำว่าธุรกิจนั่นก็หมายถึงการแสวงหากำไรเป็นที่ตั้ง แต่สถานประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของนั้นกลับมีแนวคิดที่เน้นการพึ่งพาอาศัยกันมากกว่าการแสวงหากำไร ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” เช่นเดียวกับ “รัฐวิสาหกิจ” ที่หลายคนรู้จัก โดยวิสาหกิจชุมชนนั้นจัดเป็นกลุ่มกิจกรรมของชุมชนที่ชุมชนคิดได้จากการเรียนรู้ ไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว ๆ ที่ทำเพื่อมุ่งสู่ตลาดใหญ่ และไม่ใช่กิจกรรมที่ซับซ้อนอะไร ล้วนแล้วแต่เป็นการทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อจากตลาดได้ และเป็นการจัดการระบบการผลิตและบริโภคที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการเรื่องข้าว หมู เห็ด เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ น้ำยาสระผม สบู่ น้ำยาล้างจาน หรืออื่น ๆ ที่ชุมชนทำได้เองโดยไม่ยุ่งยากนัก การทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อเป็นการลดรายจ่ายและยังช่วยให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่เข้มแข็งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการจัดระบบเศรษฐกิจใหม่ให้เป็นฐานที่เป็นจริงในชุมชน เพราะถ้าชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ กระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปรียบเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนเสาเข็มของตึกที่ทำให้ตึกมั่นคงแข็งแรงเศรษฐกิจของประเทศก็จะเข้มแข็งและอยู่ได้ ที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจในประเทศเปรียบเหมือนการสร้างตึกที่มีฐานแคบ ถ้าฐานไม่แข็งแรง ตึกก็พังลงมา ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงมีความสำคัญในการสร้างฐานมั่นคงให้กับประเทศได้ โดยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เข้มแข็งและกระจายโอกาสการประกอบอาชีพให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

“วิสาหกิจชุมชน” จัดเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ไม่มีรูปแบบ ไม่ได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การสนับสนุนจึงไม่เป็นระบบและไม่มีเอกภาพ ส่งผลให้มีปัญหาในการดำเนินงานเพราะวิสาหกิจชุมชนบางแห่งไม่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชน และบางครั้งมีการสนับสนุนจากภาครัฐแต่ไม่ตรงความต้องการที่แท้จริง พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 จึงได้ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว



ลักษณะของวิสาหกิจชุมชน
จากความหมายของวิสาหกิจชุมชนข้างต้นนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 7 อย่างด้วยกัน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชน คือ

1. ชุมชนเป็นเจ้าของกิจการเอง แต่อย่างไรก็ดี คนนอกอาจมีส่วนร่วมโดยอาจมีการถือหุ้นได้เพื่อการมีส่วนร่วม ร่วมมือ และให้ความช่วยเหลือ แต่ไม่ใช่หุ้นใหญ่ทำให้มีอำนาจในการตัดสินใจ
2. ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน ซึ่งอาจจะนำวัตถุดิบบางส่วนมาจากภายนอกได้แต่เน้นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มากที่สุด
3. ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนซึ่งมีความรู้ภูมิปัญญา หากมีกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมเกิดมีความเชื่อมั่นในตัวเองก็จะริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้โดยไม่เอาแต่เลียนแบบหรือแสวงหาสูตรสำเร็จ
4. มีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาสากล ฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานทุนที่สำคัญ เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรับประยุกต์ให้ทันสมัย ผสมผสานกับความรู้ภูมิปัญญาสากลหรือจากที่อื่น
5. มีการดำเนินการแบบบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ทำแบบโครงการเดี่ยว คล้ายกับปลูกพืชเดี่ยว แต่เป็นการทำแบบวนเกษตร คือ มีหลาย ๆ กิจกรรมประสานผนึกพลัง (synergy) และเกื้อกูลกัน (cluster)
6. มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจหลัก การเรียนรู้คือหัวใจของกระบวนการพัฒนา วิสาหกิจชุมชน หากไม่มีการเรียนรู้ก็จะมีแต่การเลียนแบบ การหาสูตรสำเร็จโดยไม่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ หากไม่มีการเรียนรู้ก็จะไม่มีวิสาหกิจชุมชนบนฐานความรู้ แต่บนฐานความรู้สึก ความอยาก ความต้องการตามที่สื่อในสังคมกระตุ้นให้เกิด ทำให้ความอยากกลายเป็นความจำเป็นสำหรับชีวิตไปหมด
7. มีการพึ่งตนเองเป็นเป้าหมาย การพึ่งตนเองคือเป้าหมายอันดับแรกและสำคัญที่สุดของวิสาหกิจชุมชน ถ้าหากพลาดเป้าหมายนี้คือพลาดเป้า วิสาหกิจชุมชนจะกลายเป็นธุรกิจที่มีเป้าหมายที่กำไรก่อนที่จะคิดทำให้รอด ไม่พัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนให้เกิดความมั่นคงก่อนที่จะก้าวไปพัฒนาธุรกิจ


ทั้งนี้วิสาหกิจชุมชนคือ เครือข่ายทางชุมชนที่ทำให้ชุมชนได้รวมตัวกันทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและตำบลที่เราอยู่


**ที่มา : http://ophbgo.blogspot.com/